สื่อเก่า(Traditional Media) ปะทะกับ สื่อใหม่ (New Media) จะเกิดอะไรขึ้น


เมื่อสื่อที่ได้รับความนิยมอย่าง Online Media หรือ Internet เข้ามามีบทบาทกับการเสพข้อมูลของผู้รับสารหรือกลุ่มเป้าหมายมากยิ่งขึ้น ทำให้หลายๆองค์กรที่เกี่ยวข้องต้องปรับกลยุทธ์การ โฆษณา-ประชาสัมพันธ์ ให้ทันยุคทันสมัย

traditional-Media

ทั้ง Advertising Agency, PR Agency, เจ้าของผลิตถัณฑ์และบริการ รวมถึงหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน  ฯลฯ  หันมาให้ความสนใจและเจียดงบ โฆษณา-ประชาสัมพันธ์ มาใช่กับสื่อใหม่มากขึ้น และนับวันยิ่งมากขึ้นเรื่อยๆ หรือนี่จะถึงจุดจบของสื่อเก่าอย่าง หนังสือพิมพ์ วิทยุ-โทรทัศน์ ที่ย้อนกลับไปครั้นอดีต สื่อเหล่านี้เป็นสื่อที่มีอิทธิพลต่อผู้รับสารค่อนข้างมาก หลายท่านคงเคยได้ยินคำกล่าวที่ว่า อิทธิพลของสื่อ กับการทำหน้าที่ในฐานะสื่อสารมวลชน หรือประโยคเด็ดของ Mashall McLuhan (Understanding Media, 1964) ที่กล่าวว่า The Medium is the message (ซึ่งต้องมาศึกษากันเป็นกรณีไป) แน่นอนว่าก็มีทั้งผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับประโยคดังกล่าว

ย้อนกลับไปที่กระบวนการสื่อสารมวลชน ที่จะประกอบไปด้วยองค์ประกอบอยู่ 4 ประเภทที่เรารู้จักกันดี ซึ่งในองค์ประกอบนี้มีผู้ที่เชี่ยวชาญด้านการสื่อสาร และการสื่อสารมวลชนให้ความเห็น และตั้งเป็นทฤษฎีที่เกี่ยวกับการสื่อสารอยู่หลายทฤษฎีที่เราก็ต้องมานั้งศึกษาเป็นปีๆ องค์ประกอบดังกล่าวคือ SMCR

  • S(Source) คือผู้ที่ทำหน้าที่ส่งสาร
  • M(Message) คือสาร หรือข้อมูลข่าวสาร (Information)
  • C(Channel) คือช่องทาง หรือสื่อ (Media)
  • R(Receiver)  คือผู้รับสาร

SMCR

กระบวนการในการส่งสารของสื่อเก่า ถ้าเราจำแนกตามทิศทางการไหลของข่าวสารนั้นจะเป็นการสื่อสารแบบทางเดียว (One-way communication) โดยที่ลักษณะของการส่งข่าวสารแบบนี้ผูู้ส่ง ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่ทำให้เกิดกระบวนการสื่อสารขึ้น ส่งข่าวสารผ่านสื่อไปยังผู้รับสาร โดยที่ผู้รับสารไม่มีโอกาสในการโต้ตอบ (Feedback) กลับไปยังผู้ส่งสารเลยในทันทีทันใด

one-way-communication

ผู้รับสารก็ทำหน้าที่เพียงรับสาร หรือข่าวสารอย่างเดียว ลักษณะการสื่อสารแบบนี้เช่น การเขียนจดหมาย ใบปลิว หนังสือพิมพ์ ป้ายประกาศ วิทยุ โทรทัศน์ คำสั่งที่เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นต้น

เมื่อมีการพัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคมขึ้น ทำให้ผู้รับสารไม่ได้เป็นเพียงผู้รับสารอีกต่อไป แต่ยังสามารถเป็นทั้งผู้รับ-ผู้ส่งสารในขณะเดียวกันที่เราเรียกว่า Feedback หรือ Response ซึ่งในยุคแรกๆของสารสื่อสาร ผุ้รับสารสารมารถโต้ตอบกลับไปยังผู้ส่งสารได้ทันที ลักษณะของการสื่อสารแบบนี้ เช่นโทรศัพท์ Walky-Talky ฯลฯ และเป็นการสื่อสารระหว่างบุคคล (Inter-personal Communication)

two-way-communication

ในกรณีของการสื่อสารมวลชน (Mass Communication) ก็สามารถเป็นลักษณะ Two-way communication ได้เหมือนกัน เช่น สมัยก่อนเราฟังวิทยุ เราจะโทรศัพท์เข้าไปเพื่อขอเพลงที่เราอยากฟัง ถ้าเราดูทีวีประเภทรายการขายสินค้าเราก็จะโทรเข้าไปซื้อสินค้าตามเบอร์โทรศัพท์ที่รายการขึ้นทางหน้าจอโทรทัศน์ เป็นต้น การสื่อสารแบบนี้ทำให้ผู้ส่งสารทราบความต้องการของผู้รับสาร เพื่อที่จะนำไปปรับปรุง พัฒนาสินค้าและบริการ หรือเพื่อความเข้าใจที่ตรงกันนั่นเอง

ย้อนกลับมาที่สื่อเก่ากับสื่อใหม่ ในยุคที่โทรทัศน์ทำหน้าที่เป็นสื่อมวลชนใหม่ๆ หลายคนทำนายและคาดการณ์ไปต่างๆนาๆว่า สื่อเก่าอย่างหนังสือพิมพ์จะตายไปเพราะโทรทัศน์ เนื่องจากให้ทั้งภาพ ทั้งเสียง ทั้งความบันเทิงครบถ้วน แต่ปัจจุบันก็พิสูจน์แล้วว่า สื่อเก่า(มาก) อย่างหนังสือพิมพ์ก็ยังไม่ได้หายไปจากวงการสื่อสารมวลชน หนังสือพิมพ์ยังคงทำหน้าที่เป็นสื่อมวลชนให้ประชาชนได้รับข่าวสารมาจนถึงปัจจุบัน

แต่เมื่อเทคโนโลยีทางด้านสื่อสารโทรคมนาคมเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ประกอบกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาอย่างก้าวกระโดดทำให้ผู้รับสารไม่เป็นเพียง ผู้รับสาร และตอบกลับเท่านั้น ยังกลายเป็นผู้ส่งสารอีกด้วย นั่นก็คือ ทุกคนสามารถเป็นได้ทั้งผู้ส่งและผู้รับในขณะเดียวกัน เพราะเรากำลังอยู่ในยุคของการสื่อสารที่เรียกว่า การสื่อสารใยแมงมุม หรือ Web Communication

Web-communication
         รูปแบบของ Web Communication จากรูปด้านบน (A เป็นผู้ส่งสาร, B เป็นผู้รับสาร) แสดงให้เห็นว่าผู้รับสารไม่ได้ทำหน้าที่เป็นผู้รับสารเพียงอย่างเดียวซะแล้ว แต่ยังสามารถเป็นผู้ส่งสารได้ในขณะเดียวกันโดยผ่าน Channel ต่างๆที่ตัวเองสามารถส่งสารได้ (เช่น อินเทอร์เน็ต โทรศัพท์มือถือ BB ฯลฯ) ในลักษณะของการสื่อสารแบบใยแมงมุมเชื่อมโยงถึงกันไปเรื่อยๆ ซึ่งข้อมูลทีอยู่บนอินเทอร์เน็ต อาจเป็นข้อมูลที่อยู่นิ่งๆกับที่ก็ได้ ไม่จำเป็นต้องวิ่งเข้าไปหาผู็รับสารเสมอไป ผู้รับสารหรือผู้บริโภคจะเป็นคนที่วิ่งเข้ามาหาข่าวสารเองก็ได้ นี่เองที่ทำให้ผู้บริโภคหรือผู้รับสารมีสิทธิ์ที่จะเลือกมากขึ้นและทำให้เกิดการแข่งขันกันทางการตลาดสูงมาก และ Feedback ทั้งด้านดีและด้านลบก็รวดเร็วมากเช่นเดียวกัน

ตัวอย่างเว็บไซต์ 2.0

สิ่งที่ตามมาอย่างเห็นได้ชัดเจนคือสังคมออนไลน์ หรือ Social Media ที่เกิดจากการพัฒนาเว็บไซต์ให้กลายเป็น WEB2.0 ซึ่งเกิดขึ้นมาประมาณ 2547 โดยที่ผู้ใช้ปลายทางไม่ได้เป็นเพียงแต่เสพข่าวสารเพียงอย่างเดียว แต่ผู้ใช้ปลายทางที่เรียกดูเว็บไ

ซต์สามารถทำอะไรได้มากขึ้นถือเป็นการเปลี่ยนแปลงบทบาทของการเป็นผู้รับสารเพียงอย่างเดียว ในการแบ่งปันข้อมูลข่าวสารหรือความรู้ที่ตัวเองมีอยู่ให้มีส่วนร่วมในการออหแบบเว็บไซต์ด้วย โดยให้ผู้ใช้เป็นศูนย์กลางแทน เช่น บล็อก (BLOG) –  เว็บไซต์หลายๆเว็บไซต์ใช้แพลตฟอร์มเว็บ 2.0 แล้วให้ผู้ใช้ปลายทางสร้างเนื้อหาขึ้นมาเได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย โดยที่ไม่ต้องมีวามรู้เรื่องการทำเว็บแต่อย่างใด เช่น Youtube, WordPress, Wikipedia, Flickr, eBay, Facebook ฯลฯ  และล่าสุด Google+

เมื่อสื่อใหม่ล่าสุดอย่างอินเทอร์เน็ตเข้ามา (ถ้านับปัจจุบัน 2011 อินเทอร์เน็ตใช้มาประมาณ 20-30ปีแล้ว แต่บูมสุดๆก็ในยุคนี้ ที่อะไรๆ กลายเป็นดิจิทัลไปซะหมด) ทำให้ หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ ฯลฯ กลายเป็นสื่อเก่าโดยปริยาย นักวิชาการหลายท่านก็ตั้งข้อสังเกตอีกว่า สื่อเก่าจะตายจากไป เพราะอินเทอร์เน็ตนั่นเอง

จริงหรือไม่จริงตอนนี้เรายังตอบไม่ได้แน่ชัด แต่หนังสือพิมพ์ในสหรัฐอเมริกาที่เป็นต้นฉบับของสื่อสารมวลชนที่มีชื่อว่า The Rocky Mountain News ได้ปิดตัวลง หลังจากที่ทำหน้าที่เป็นสื่อสารมวลชนมาถึง 150ปีจากการเผชิญปัญหาด้านเศรษฐกิจและการเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคสื่อของประชาชน

สื่อเก่าหลายแห่งต้องเริ่มปรับตัวให้เข้ากับยุคดิจิทัลซะแล้ว เราจะเห็นว่า …..NEw Media

-หนังสือพิมพ์เกือบทุกฉบับในประเทศไทย ให้บริการ News Content และมีเนื้อที่สำหรับการโฆษณาออนไลน์ด้วย หรือจะอ่านหนังสือพิมพ์แบบ e-Newspaper ได้โดยผ่าน Digital Device ต่างๆ

-โทรทัศน์ก็สามารุถเข้าไปชมรายการย้อนหลังได้จากเว็บไซต์ช่องต่างๆ เราสามารถเลือกดูรายการที่เราพลาดชม หรือเลือกดูรายการโปรดได้โดยไม่ต้องกลัวว่าจะพลาดตอนจบของดอกส้มสีทอง

-วิทยุก็กลายเป็นโทรทัศน์หรือเป็นเคเบิลทีวี เราสามารุฟังรายการวิทยุจากเว็บไซต์ หรือชมผ่านโทรทัศน์ก็ได้ ในขณะเดียวกันโทรทัศน์เองก็รายงานข่าวทั้งโทรทัศน์เองด้วยและก็ออกอากาศทางวิทยุ รวมถึงสามารถชมรายการสดๆทางอินเทอร์เน็ตได้อีกด้วย

-และที่สำคัญตอนนี้โทรทัศน์ของเราก็จะเป็น Internet TV โดยเป็นการพลิกโฉมของวงการโทรทัศน์อีกครั้ง เป็นการควบรวมอุปกรณ์ของสื่อมวลชนเพื่อให้ปรับตัวเข้ากับยุคของ Internet Technology

any where anytime anydevice         เรากำลังแยกแยะไม่ออกแล้วครับว่าสื่ออะไรเป็นสื่อหลักและสื่ออะไรที่เป็นสื่อรอง เพราะ Web Communication ทำให้เกิดยุคของการปฏิวัติโทรคมนาคม (ที่ได้ผ่านมาแล้ว) เกิดการพัฒนาและมีการปรับตัวของทั้งสื่อเองและผู้รับข่าวสารด้วย เรากำลังอยู่ในยุคของสื่อที่เรียกว่า Media Convergence Age หรือยุคของการควบรวมสื่อนั้นเอง ก็ไม่แน่ว่ารุ่นลูกรุ่นหลานเรา อาจจะไม่รู้จักคำว่าโทรทัศน์หรือหนังสือพิมพ์แล้วก็ได้ครับเพราะมันจะแยกแยะกันไม่ออก ว่าสื่อโทรทัศน์ที่แท้จริงนั้นลักษณะเป็นอย่างไร หน้าตาเป็นอย่างไร

         ผมคิดว่า คำว่า New Media หรือสื่อใหม่นั้น ค่อนข้างจะกว้างและไม่ชัดเจนนัก ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ในแวดวงที่เกี่ยวข้อง ทั้งการตลาด การโฆษณา-ประชาสัมพันธ์ การสื่อสารมวลชน ฯลฯ ว่าแท้จริงแล้วมันคืออะไรในยุคนี้ มันมองได้หลายแง่หลายมุม ในแต่ละมุมมองก็ตีความออกไปไม่เหมือนกัน ยกตัวอย่างเช่น

– ในมุมของการสร้างสรรค์งานโฆษณา สื่อใหม่ที่ว่า อาจเป็นสื่อโฆษณาที่มีการผสมผสานเทคนิคต่างๆเข้าไปซึ่งไม่เคยถูกใช้มาก่อนให้ดูน่าสนใจ เป็นที่สะดุดตา ก็เป็นสื่อใหม่ ใช้สิ่งที่ไม่เคยถูกใช้มาก่อนเป็นสื่อโฆษณา-ประชาสัมพันธ์ ก็เป็นสื่อใหม่ หรือตำแหน่งของการโฆษณาตามจุดต่างๆที่แปลกๆ อาจต้องผสมผสานความสร้างสรรค์เข้าไปอยู่ในตัวสื่อด้วย แต่เราต้องแยกแยะ ตัว Ad กับสื่อให้ออกแค่นั้นเอง บางครั้งตัว Ad อาจไม่มีอะไรน่าสนใจเลย แต่มันอยู่ถูกที่ถูกเวลา

 


– ในมุมของการสื่อสาร สื่อใหม่อาจจะหมายถึงสื่อที่สามารถเข้าถึงข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบของดิจิทัลได้ เข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ ก็เป็นสื่อใหม่ หรือวิธีการสื่อสารที่สามารถเข้าถึงผู้รับสารได้ในวงกว้างมีการตอบกลับอย่างรวดเร็ว(มาก) ผู้รับสารสามารถเข้าถึงข่าวสารได้เอง ก็เป็นสื่อใหม่

 

– ในมุมมองของความเป็นสื่อเองหรือพาหะของข้อมูลสารสนเทศ อาจจะหมายถึงอุปกรณ์ที่เป็นผลมาจากการทำงานร่วมกันระหว่าสื่อกับเทคโนโลยี สามารถนำเสนอในรูปแบบของ Multimedia Interactive ได้ เช่น Tablet, PDA, VDO Conference, CD-ROM, DVD ROM, SD Card ฯลฯ หรืออะไรก็ตามที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ เป็นสื่อใหม่ ฯลฯ

 

          ถ้ายังไม่พูดถึง Smart Phone หรือ tablet ต่างๆที่ความสามารถนั้นใกล้เคียงกับคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ซึ่งเป็นได้มากกว่าโทรศัพท์ เราสามารถ อ่านข่าว เช็ตอีเมลล์ ดูทีวี แช็ตกับเพื่อนๆ ใช้ Social Network ฯลฯ ผมยอมรับว่าตั้งแต่มีพวกนี้เข้ามา มันทำให้ผมเปิดคอมพิวเตอร์น้อยลง เปิดโทรทัศน์น้อยลง เพราะทุกวันนี้ผมก็สามารถทำทุกอย่างได้บนมือถือไม่แพ้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ และนั่นเองเราก็กำลังเข้าสู่ในยุคของ Digital Devices Convergence ที่อุปกรณ์ดิจิตัลต่างๆนั้นสามารถทำงานได้ใกล้เคียงกัน ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนผู้ใช้อย่างเราๆก็สามารถเข้าถึงข่าวสารได้ทุกที่ ทุกเวลา และในทุกๆอุปกรณ์ (Any Where Any Time and Any Devices) มันทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการสื่อสารอย่างใหญ่หลวง จากที่เราต้องคอยข่าวสารจากสื่อมวลชน ทุกวันนี้เราสามารถเข้าไปหาสื่อมวลชนเองได้ ซึ่งเป็นลักษณะของ Push กับ Pull ของข่าวสารแล้วครับ

         ยุคนี้เป็นยุคที่เกิดการเปลี่ยนแปลงและเราต้องปรับตัวหลายอย่างครับ เราควรใช้เทคโนโลยีต่างๆให้เป็น คำว่า “ใช้ให้เป็น” คือใช้ให้มันเกิดประโยชน์โดยที่ไม่ไปทำลายการใช้ชีวิตของเราในด้านอื่นๆ จากหลายๆกรณีศึกษาที่กำลังเกิดขึ้น และหลายกรณีที่ยังต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมอีกเยอะครับ

 วีดีโอเกี่ยวกับ New Media ที่เกี่ยวข้อง

วีดีโอที่แสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของสื่อเก่า กับสื่อใหม่อย่างน่าสนใจ
อีกหนึ่งความคิดเห็นของ New Media (อันนี้ดูแล้วสนุกดีครับ)

(บทความข้างตอนเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้น ไม่สมควรนำไปอ้างอิงทางด้านวิชาการ)

Reference,
1. http://www.wikipedia.com
2. http://www.youtube.com
3. http://www.webmedia-solutions.com
4. http://www.marketing-made-simple.com
5. http://www.http://www.semshred.com/content1542

Wrote by Pecha Pintharong : Master Degree Level, Mass Communication Technology, RU.2011

เกี่ยวกับ iTubb
Excellent in aspirations!

7 Responses to สื่อเก่า(Traditional Media) ปะทะกับ สื่อใหม่ (New Media) จะเกิดอะไรขึ้น

  1. Pingback: สื่อใหม่: ภาพสะท้อนของสื่อเก่า « cujrnewmedia

  2. Pingback: แฝดคนละฝา สื่อเก่าและสื่อใหม่ « cujrnewmedia

  3. Pingback: Freedom or Fleedom! « cujrnewmedia

  4. Pingback: Social media และ Traditional media | tharasai256

  5. Pingback: Social media กับ Traditional media « ZuttipaTH

  6. Pingback: ข้อเปรียบเทียบอิททธิพล Social media กับ Traditiond | sompong270

ใส่ความเห็น